โทรศัพท์ : 0-2467-4312  
  โทรสาร : 0-2868-6290

ตู้โหลดเซ็็นเตอร์

ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) ส่วนใหญ่เป็นกล่องเหล็ก ลักษณะการทำงานคล้ายกับ Consumer Unit แตกต่างกันที่มีหลายแถว และใช้กับพื้นที่มากกว่า 1 พื้นที่ขึ้นไป เหมาะสำหรับควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคารขนาดกลางและใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไฟ 3 เฟส 4 สาย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ตู้โหลดเซ็นเตอร์ ชนิด Main Lugs

ตู้โหลดเซ็นเตอร์

จะ มี lug ต่อสายซึ่งใช้ต่อกับสายเมนทั้ง 3 เฟส และ terminal สำหรับต่อสายนิวทรัล โดยไม่มีตัวควบคุมหลักหรือเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์(Main Circuit Breaker) การจ่ายกระแสของตู้โหลดเซ็นเตอร์ ชนิดนี้ จะจ่ายผ่าน บัสบาร์ (busbar) ไปยังเซอร์กิตเบรกเกอร์วงจรย่อย (Branch Circuit Breaker) ซึ่งมีทั้งแบบ 1 ขั้ว และแบบ 3 ขั้ว ซึ่งจะมีจำนวนวงจรย่อย มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการทนกระแสของบัสบาร์เช่น 100A , 225A เป็นต้น การเลือกใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อย ที่ต้องการ ได้แก่ 12,18,24,30,36 และ 42 วงจรย่อย (1 วงจรย่อย สามารถ ใส่เบรกเกอร์ย่อยชนิด 1 ขั้ว ได้ 1 ตัว) โดยกระแสใช้งาน ทั้งหมดไม่ควรเกิน 80% ของพิกัด ตู้โหลดเซ็นเตอร์ เช่น เลือกพิกัดบัสบาร์ 100 A กระแสใช้งานโดยรวมไม่ควรเกิน 80 A แต่เนื่องจากตู้โหลดเซ็นเตอร์ชนิดนี้ไม่มีตัวควบคุมหลัก การใช้งานจึงมักใช้ควบคู่กับ safety switch หรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์ควบคุม หลักอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ

2. ตู้โหลดเซ็นเตอร์ ชนิด Main Circuit breaker

ตู้โหลดเซ็นเตอร์

คล้าย กับแบบ Main lugs แต่จะมีเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน (Main Circuit Breaker) แบบ 3 ขั้ว ชนิด MCCB (Molded Case Circuit Breaker) ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหลักในการจ่ายกระแสผ่านบัสบาร์ ไปยัง MCB (miniature circuit breaker) โดยพิกัดการทนกระแสสูงสุด ของ เซอร์กิตเบรกเกอร์เมน ต้องไม่เกินพิกัดการทนกระแสของ busbar เช่น รุ่นที่มีพิกัด busbar 100A สามารถเลือกเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์
(ได้ตั้งแต่ 15, 20, 30,40,50,60,70,80,90 และ 100A เป็นต้น การเลือกใช้งานนอกจากจะพิจารณาจำนวนวงจรย่อย ซึ่งเหมือนกับ
แบบ Main lugs แล้ว ต้องเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์เมนให้เหมาะสมด้วย

Copyright ©2003 Science & Technology Service Co.,Ltd.